ภัยพิบัติ อาสาสมัคร และ ภาคประชาสังคม เกี่ยวข้องกันอย่างไร

จากบทสนทนาในงานหัวข้อ “ภัยพิบัติที่ไร…ทำไมต้องมีภาคประชาสังคม?” เราได้ฟังเรื่องราวและมุมมองที่น่าสนใจของมูลนิธิกระจกเงาจากคุณสมบัติ บุญงามอนงค์ และ อ.ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์จากสำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในงาน “เชียงรายสนทนา” ที่ได้สรุปความรู้สำคัญเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ ทั้ง 4 ขั้นตอนการจัดการ การบริหารอาสาสมัคร คุณสมบัติและคุณค่าที่อาสาสมัครได้รับ ที่มาของทุน วิธีการระดมทุน การสร้างความไว้วางใจ และความเชื่อมโยงระหว่างภัยพิบัติกับภาคประชาสังคม เราขอแบ่งปันสาระที่สำคัญเหล่านี้ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นถึงความสำคัญของภาคประชาสังคมในการรับมือกับภัยพิบัติและการฟื้นฟูชุมชน.

1 min read

การพัฒนาเมืองด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ การพัฒนาเมืองด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดย รศ.ดร.พีรดล แก้วลาย

ในงานเสวนา Chiangrai Creature TALK: การพัฒนาเมืองด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ และการพัฒนาเมืองด้าน Wellness/Wellbeing City ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Chiangrai Sustainable Design Week รศ.ดร.พีรดล แก้วลาย ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาใช้ในการพัฒนาเมือง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเมืองเชียงราย ให้สามารถเติบโตเป็นเมืองที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และเป็นเมืองที่ดึงดูดผู้คนที่มีความสามารถจากทั่วทุกมุมโลก

1 min read

มัดรวมการรับมือ “แผ่นดินไหว” จาก “1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว”

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่จังหวัดเชียงราย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติร่วมกับศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติและมูลนิธิมดชนะภัย จัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 10 ปีแผ่นดินไหวแม่ลาว มีการบรรยายพิเศษและเสวนา พร้อมนิทรรศการเล่าเรื่องราวการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภัยธรณีพิบัติ.

1 min read